ไวน์ผลไม้ ไวน์แนวใหม่บนชั้นเดิมๆ
Wine n' Business
ไวน์ผลไม้ ไวน์แนวใหม่บนชั้นเดิมๆ

[เรียบเรียงจากบทความของ David Swartzentruber]

จนเมื่อปีที่ผ่านมา บ้านเรามีไวน์ชนิดใหม่เกิดขึ้นและวางขายอยู่บนชั้นขายไวน์ โดยไวน์เหล่านี้ระบุบนฉลากด้วยคำเก๋ๆ อย่างเช่น “Rich & Red” หรือ “Crisp and Fruity” และมักจะเขียนบนฉลากที่ด้านหลังขวด ตัวเล็กๆ ว่า “Fruit Wine”…

ไวน์ชนิดนี้ ผลิตจากน้ำผลไม้สูงถึง 20% เป็นไวน์ที่ไม่ได้ทำจากองุ่น แต่ทำจากผลไม้ เช่น ลูกแพร์, แอปเปิ้ล และสับปะรด เป็นต้น ในทางกฎหมายแล้ว แน่นอนว่ามีช่องว่างให้ไวน์เหล่านี้ถูกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าไวน์ทั่วไปที่ทำจากองุ่น

ประเทศที่ผลิตไวน์ชนิดนี้ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ผลิตไวน์องุ่นอยู่แล้ว เช่น แอฟริกาใต้, สเปน หรือ อิตาลี เป็นต้น ตลอดจนประเทศที่เป็นจุดพักสินค้า อย่าง เวียดนาม หรือแม้แต่โรงไวน์บางแห่งในประเทศไทย อย่าง สยามไวน์เนอรี่ ก็ผลิตไวน์ชนิดนี้เช่นกัน

จุดเด่นของไวน์ชนิดนี้ คือ มีราคาไม่แพง ตกประมาณ 249-299 บาทต่อขวดเท่านั้น

ข้อเท็จจริงประการหนึ่ง คือ ไวน์เหล่านี้ได้รับอนุญาตให้วางขายบนชั้น คู่กับไวน์ทั่วไปที่ทำจากองุ่น ทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งตั้งข้อสงสัยว่า นี่เป็นการหลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ บางคนตั้งประเด็นเกี่ยวกับมาตรฐานการระบุข้อมูลบนฉลากไวน์ และมาตรฐานเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลไทยพยายามออกแคมเปญเพื่อลบภาพลักษณ์ของประเทศในแง่ของการเป็นตลาดการขายสินค้าปลอม แต่การที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บภาษีไวน์ผลไม้เหล่านี้ในอัตราที่ต่ำกว่าไวน์ทั่วไป ดูเหมือนเป็นการก้าวถอยหลังของแคมเปญรณรงค์ดังกล่าว ในขณะที่ผู้บริโภคชาวไทยที่มีความรู้ไม่มากเกี่ยวกับไวน์ กำลังตกเป็นเหยื่อของไวน์ผลไม้จำพวกนี้

สิ่งที่ผมรู้สึกเป็นกังกลที่สุด คือ ขนาดตัวอักษร และตำแหน่งของคำว่า “Fruit Wine” ซึ่งปัจจุบัน ระบุบนฉลากที่ด้านหลังขวด ซึ่งในทัศนะของผม มันน่าจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าฉลาก และมีขนาดตัวอักษรที่ชัดเจนกว่านี้ พร้อมระบุในวงเล็บด้านล่างด้วยข้อมูล เช่น (ไวน์ขวดนี้ประกอบด้วยปริมาณน้ำลูกแพร์ 20%) เป็นต้น เพื่อแจ้งให้ผู้บริโภคทราบอย่างชัดเจนขึ้น

สำหรับไวน์ผลไม้ที่ผลิตจากโรงไวน์ที่ผ่านการรับรองอย่างถูกต้อง และผ่านการตรวจสอบแล้วในเรื่องมาตรฐานสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ผมไม่ค่อยกังวลนัก… แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ ไวน์ผลไม้ที่ผลิตโดยประเทศที่ไม่ใช่ผู้ผลิตไวน์ที่มีชื่อเสียง อย่าง เวียดนาม เป็นต้น เพื่อนร่วมงานของผมคนหนึ่งกล่าวว่า “มันเป็นหายนะเลยก็ว่าได้”

เบื้องหลังของการค้าไวน์ผลไม้เหล่านี้ อาจสืบเนื่องมาจาก การที่กรมสรรพสามิตเรียกเก็บภาษีจากไวน์องุ่นในอัตราที่สูงเกินไป กอปรกับการที่สังคมไทยยังคงมีทัศนคติว่า ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีราคาแพง และเป็นเรื่องของความหรูหรา ซึ่งจริงๆแล้ว ปัจจัยที่ทำให้ไวน์มีราคาสูง คือ ภาษีที่ถูกเรียกเก็บจากรัฐบาลไทยมีมูลค่าสูงต่างหาก

สิ่งหนึ่งที่โฆษณาชวนเชื่อให้ต่อต้านไวน์ไม่ได้กล่าวถึง คือ ไวน์สามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายได้ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

นโยบายในเรื่องการเก็บภาษีไวน์ของกรมสรรพสามิตจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลงจนกว่าภาคส่วนต่างๆในอุตสาหกรรมการผลิตไวน์ ทั้งโรงไวน์ ผู้นำเข้าไวน์ ตัวแทนจำหน่าย ร้านค้า ตลอดจนผู้บริโภคออกมาเรียกร้องบางอย่างกับผู้ที่มีอำนาจในกรมสรรพสามิต ซึ่งในปัจจุบัน ยังคงไม่มีผู้ใดก้าวออกมาเรียกร้องในประเด็นดังกล่าว

ไวน์ในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มมีการผลิตไวน์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งถูกริเริ่มโดย 2 ผู้ผลิตใหญ่ ได้แก่ โรงไวน์ไนท์ แบล็ค ฮอร์ส Berri Estate back labelไวน์เนอรี่ในจังหวัดปทุมธานี และสยามไวเนอรี่ ซึ่งเป็นโรงไวน์ของตระกูลอยู่วิทยา เจ้าของแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังที่มีชื่อเสียง “กระทิงแดง”

โรงไวน์ไนท์ แบล็ค ฮอร์ส ไวน์เนอรี่ เริ่มต้นทำการตลาดด้วยการจำหน่ายไวน์ในห้างสรรพสินค้า โดยไวน์รายการแรกของพวกเขา ระบุบนฉลากว่า “Cabernet Sauvignon” ข้างใต้ระบุสายพันธุ์องุ่นท้องถิ่นที่มีชื่อว่า “Black Opal”

ต่อมามีการเข้าแทรกแซง ทำให้โรงไวน์ดังกล่าว จำเป็นต้องระบุบนฉลากด้านหลังว่า “WINE FROM FRANCE” ซึ่งจริงๆแล้ว ผมคิดว่า น่าจะระบุที่ด้านหน้าของฉลากมากกว่า เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภค

ย้อนกลับไปไม่กี่ปี โรงไวน์สยามไวเนอรี่ เริ่มต้นจำหน่ายไวน์ Montclair “Celebration White and Red” ซึ่งบนฉลากระบุว่า เป็นไวน์จากแอฟริกาใต้ “From the Breede River Valley in South Africa” ส่วนไวน์อีกฉลากที่ออกจำหน่าย ผู้บริโภคดูที่ด้านหลังของขวดจึงจะรู้ว่าไวน์ฉลากนี้เป็น “Fruit Wine” ระบุข้อมูลผู้ผลิตว่า “Produced and bottled by Siam Winery”

Peter Vellaปัจจุบัน ยังมีไวน์ผลไม้ที่วางขายในประเทศไทยอื่นๆอีก 7 รายการ ประกอบด้วย Belleville, Berri Estates and Cask 88 (ไวน์แดง และไวน์ขาวจากออสเตรเลีย) Australia, Corte Antica, Finca De Malpica and Mar Sol จากสเปน และ Peter Vella ซึ่งเป็นไวน์ระดับล่าง ผลิตโดย Gallo Winery ในเมือง Modesto รัฐแคลิฟอร์เนีย ทั้งหมดนี้เป็นไวน์ที่ผลิตโดยโรงไวน์สยามไวเนอรี่ ยกเว้น Belleville และ Corte Antica

ไวน์ผลไม้ Corte Antica จัดเป็นฉลากที่น่าสนใจ เพราะบรรจุขวดในประเทศอิตาลี มีระบุบนฉลากที่หลังขวดว่าเป็น “Fruit wine” พร้อมให้รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบว่า “wine, sugar, fruit juice, aroma, preservative E202” ซึ่งอย่างน้อยก็ช่วยให้ผู้บริโภคพอรู้คร่าวๆว่า พวกเขากำลังรับประทานส่วนประกอบอะไรอยู่

 

ไวน์ผลไม้หลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่?

ก่อนเขียนบทความนี้ ขณะที่ผมกำลังค้นหาข้อมูล โดยเดินสำรวจที่ชั้นวางไวน์ที่ห้าง Tesco Lotus สุภาพmar solสตรี 4 ท่านกำลังให้ความสนใจไวน์ผลไม้ เนื่องจากมีราคาไม่แพง พวกเธอพูดภาษาอังกฤษได้ดี แต่เมื่อผมอธิบายถึงแสตมป์ภาษีสีส้มที่แปะอยู่ว่าหมายถึงอะไร พวกเธอกลับบอกว่าไม่เคยทราบมาก่อน นี่สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังมีความรู้ไม่มากเกี่ยวกับเรื่องไวน์ ดังนั้น จึงมีแนวโน้มว่าผู้บริโภคลักษณะนี้ อาจจะซื้อไวน์ที่เป็นไวน์ผลไม้ติดมือกลับบ้านไป แทนไวน์จริงๆที่ทำจากองุ่น

การระบุคำว่า  “Fruit wine” ด้วยตัวหนังหนังสือเล็กๆที่ด้านหลังขวด อาจจะยังไม่เพียงพอ เพราะมันน่าจะระบุอย่างชัดเจนที่ด้านหน้าของขวด รวมถึงระบุถึงชนิดของผลไม้ที่นำมาใช้ผลิต หรือเขียนไปเลยให้ชัดว่า เป็นไวน์ประเภทที่ไม่ได้ทำจากองุ่น หรือ Non-Grape Wine

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่ดื่มไวน์ ยกเว้นคนที่มีฐานะเท่านั้น บางทีไวน์ผลไม้เหล่านี้อาจเหมาะที่จะใช้เป็นก้าวแรก เพื่อดึงดูดให้สังคมไทยหันมาเริ่มต้นจิบไวน์? เพราะไวน์ผลไม้มีราคาไม่สูง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับตลาดเมืองไทยจะเป็นผู้ตัดสิน

ปัญหาและทางออก

บางคนอาจคิดว่า ธุรกิจนำเข้าและส่งออกไวน์ของไทย สามารถทำเงินได้มากมายในแต่ละปี แต่ในความเป็นจริงแล้วธุรกิจไวน์ของไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก สืบเนื่องจากนโยบายเรียกเก็บภาษีไวน์ของกรมสรรพสามิต ที่ไม่ค่อยจะสอดคล้องกับมาตรฐานของตลาดโลกเท่าที่ควร การขึ้นค่าภาษีไวน์ของกรมสรรพสามิตในปี 2013 ส่งผลกระทบค่อนข้างแรงต่อธุรกิจไวน์ในประเทศไทย

ปัจจุบัน ถึงแม้จะยังไม่เกิดขึ้น แต่กรมสรรพสามิตมีแผนที่จะเรียกเก็บภาษีไวน์จาก “ราคาขายปลีก” โดยทางกรมกล่าวว่า แผนการดังกล่าว “เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ” ในขณะที่ผู้บริหารจากธุรกิจการค้าไวน์ได้ออกมากล่าวว่า นี่ถือเป็นการ “เรียกเก็บภาษีการขายแบบสองต่อ”

เรื่องที่ผมอยากจะฝากบอกต่อกรมสรรพสามิต คือ การเรียกเก็บภาษีจากราคาขายปลีกนั้น ไม่ได้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลสำหรับวงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หากแต่มาตรฐานระดับสากล คือ การเรียกเก็บภาษีตามระดับแอลกอฮอล์โดยปริมาตร หรือ “ABV” (Alcohol By Volume) ของสินค้าแอลกอฮอล์นั้นๆต่างหาก

ในความเป็นจริงแล้ว ค่าภาษีไวน์ที่สูงกำลังทำร้ายธุรกิจไวน์อย่างหนัก โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม นี่คงไม่ใช่วิธีที่ดีที่จะดึงดูด “นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ” ตามความมุ่งหมายของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หากแต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ การผลิตไวน์ผลไม้ราคาถูก ซึ่งมีความคลุมเครือในเรื่องมาตรฐานสุขภาพอนามัย และความปลอดภัย โดยกระทรวงสาธารณสุขควรที่จะทำการตรวจสอบวิธีการผลิตของสินค้าเหล่านี้ให้มากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ตามคำบอกกล่าวของผู้บริหารจากภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจลับลอบนำเข้าไวน์ผิดกฎหมายกำลังเฟื่องฟู โดยไม่มีการจับกุมแต่อย่างใด ตามข่าวล่าสุดที่ผมได้ยินมา คือ ได้มีการเข้ายึดไวน์ผิดกฎหมายทางฝั่งกัมพูชาเมื่อปี 2005

หากเราสามารถลดภาษีสรรพสามิตของสินค้าไวน์ลงได้ ไวน์ก็น่าจะขายได้ดีขึ้น รัฐบาลก็จะสามารถมีรายได้จากการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตได้มากขึ้น และปัญหาการลักลอบไวน์ผิดกฎหมายก็จะลดน้อยลง นักสังเกตการณ์กล่าวว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไวน์ที่ถูกลักลอบนำเข้า ยังทำให้รัฐบาลไทยต้องสูญเสียรายได้ไปกว่าพันล้านบาทอีกด้วย

ในช่วงเวลาของการปฏิรูปนี้ ผมคิดว่า มันเลยเวลาแล้วที่เราควรจะทำการปฏิรูปกรมสรรพสามิต และนโยบายการเรียกเก็บภาษีไวน์แบบแปลกๆนี้ โดยทางภาครัฐ อย่าง กรมสอบสวนคดีพิเศษ จำเป็นที่จะต้องหยุดขบวนการลักลอบนำเข้าไวน์นี้อย่างเร่งด่วน