เผื่อคุณลืม ปีนี้เป็นปี 2016 แล้ว… และเราก็มาถึงจุดที่ “การสัก” กลายเป็นเรื่องธรรมดาๆไปซะแล้ว การสักเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่อยู่คู่มนุษย์โลกมานานเป็นศตวรรษแล้ว แต่บ่อยครั้งที่มันถูกมองว่าเป็นวัฒนธรรมของพวกนักเลงหัวไม้ คนที่ชอบทำผิดกฎหมาย หรือคนนอกรีต เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน เป็นเรื่องน่ายินดีที่คนชายขอบเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น การตัดสินคนที่ภายนอกกลายเป็นเรื่องน่ารังเกียจ การตัดสินคนที่สักเรือนร่างจึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมเช่นกัน และนั่นคือเหตุผลที่ทำไมเราเห็นเหล่าศิลปิน คนดัง ดารา หันมานิยมสักกันมากขึ้น ในจำนวนนี้อาจรวมไปถึงคนใกล้ตัวของคุณ อย่างเช่น เจ้านาย หรือแม้แต่พ่อของคุณเองก็เป็นได้
แน่นอนมันเป็นเรื่องที่ดี ที่เราต่างมีอิสรภาพมากขึ้นในการแสดงออกความเป็นตัวตนของตัวเองโดยไม่ถูกกัดกัน หรือแบ่งแยก แต่เราก็ยังมาถึงจุดที่อิสรภาพเริ่มจะเกินเลยขอบเขต ความงามของการสักเริ่มกลายเป็นความไม่งาม การสักรูปเกี่ยวกับไวน์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนเรือนร่างอาจเป็นไอเดียที่ไม่เลว (ถ้าเราออกแบบให้มันออกมาดูมีศิลป์) แต่สำหรับผม การสักภาพที่สื่อถึงไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มันอาจกำลังบอกอะไรบางอย่าง เช่น “ฉันเป็นบุคคลอันตราย” “ฉันเป็นคนรักการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก” “ฉันดื่มหนักมากในช่วงวันหยุดยาวๆ” “ร้านสักริมชายหาดที่ฉันเดินไปเจอมันมีราคาถูกดี และฉันเลยเดินเข้าไปและสักรูปนี้มา” อย่างไรก็ตาม บางคนสักออกมาดูสวย และอาร์ตมาก แต่หลายคนทำออกมา ชวนให้คนที่พบเห็นคิดว่า มันช่างเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดจริงๆ
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างภาพสักเกี่ยวกับไวน์ที่ออกมาดูไม่ค่อยดีสักเท่าไร:
1
ขอเริ่มด้วยภาพที่ดูแย่ที่สุด… คุณคิดว่าผู้ชายคนนี้กำลังคิดอะไรอยู่ครับ? สำหรับผม ผมคิดว่าเขาคงไม่ได้คิด(ก่อนทำสิ่งนี้)เลยด้วยซ้ำ
2
สักรูปสนับมือทองเหลือง? อาจเป็นไปได้ว่า ผู้ชายคนนี้อาจเป็นคอไวน์ที่มาจากชมรมต่อสู้ที่ไหนสักแห่งก็เป็นได้
3
คงไม่มีภาพสักไหนทำให้ของคุณดูเป็นไวน์กูรูได้มากเท่านี้อีกแล้ว…
4
องุ่นหลงทาง?
5
เรารู้ว่า “Petrus” เป็นไวน์บอร์โดที่ค่อนข้างเอ็กซ์คลูซิฟ แต่รอยสักภาพนี้ไม่น่าจะใช่นะครัช
6
จูเลียส ซีซาร์ เคยกล่าวไว้ว่า Veni (ฉันได้มา), Vidi (ฉันได้เห็น), Vici (ฉันมีชัย) แต่เวอร์ชั่นนี้ก็น่าสนใจไปอีกแบบครับ Vini (ไวน์), Vidi (ฉันได้เห็น), Vici (ฉันมีชัย)
7
“พร้อมสักไหมครับ?”
“พร้อมค่ะ แต่ช่วยสักให้ออกมาดูเหมือนผื่นหน่อยได้ไหมคะ?”
“ได้เลยครับ!”
[เรียบเรียงจากบทความของ Alexander Eeckhout]